- ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทนน้ำมันได้สูงถึง 20% ในการผลิตโฟมโพลียูรีเทนชนิดแข็ง
- นวัตกรรมโฟมชนิดแข็งสำหรับทำแผ่นฉนวน
- นวัตกรรมวัสดุที่ได้แสดงถึงความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นในการทดสอบเบื้องต้น
ความยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น หากเรามีวัสดุที่ทำจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง สิ่งนี้อาจกลายเป็นความจริงในอนาคต ตั้งแต่ปี 2559 โคเวสโตรได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมที่ชื่อว่า "DreamResource" (FKZ 033RC002) ซึ่งได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยแห่งสหพันธ์เยอรมนี (German Federal Ministry of Education and Research: BMBF) เพื่อวิจัยโพลีออลชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ได้จริง อย่างเช่น การเอามาใช้ในโฟมโพลียูรีเทนชนิดแข็งในฉนวนกันความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ขณะนี้ต้นแบบเริ่มต้นของแผ่นฉนวนดังกล่าวได้รับการพัฒนาร่วมกับบริษัท Puren GmbH พันธมิตรโครงการ ซึ่งประกอบด้วยโพลิออลชนิดใหม่ที่ใช้เอทิลีนออกไซด์ธรรมดากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งนี้แสดงถึงความแน่วแน่ในการพัฒนาเทคโนโลยี CO2 ของโคเวสโตรสำหรับส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการก่อสร้างซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
“อาคารต่างๆ มีส่วนรับผิดชอบอย่างมากต่อการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งนี้ล้วนมีความสำคัญสำหรับโคเวสโตรในการมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสร้างฉนวนกันความร้อนที่มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต เป้าหมายของเราคือยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและทำให้กระบวนการผลิตของเรามีความยั่งยืนมากขึ้น” Sucheta Govil ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย Commercial ของ โคเวสโตรทั่วโลก กล่าว
ด้วยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี CO2 โคเวสโตรได้ผลิต cardyon® ที่ใช้ CO2 เป็นหนึ่งในสารตั้งต้นในการผลิต ซึ่งนำใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตที่นอน พื้นสนามกีฬา เส้นใยสิ่งทอ และส่วนประกอบสำหรับอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์
แนวโน้มทิศทางใหม่จากเทคโนโลยี CO2
ปัจจุบันโคเวสโตรประสบความสำเร็จครั้งแรก ในการรวมเอทิลีนออกไซด์ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของปิโตรเลียมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อผลิตโพลีออล และในที่สุด ตอนนี้เราก็สามารถทำโฟมโพลียูรีเทนชนิดแข็งได้ คาดว่าวัตถุดิบจากปิโตรเลียมมากถึง 20% จะถูกแทนที่ด้วยกระบวนการนี้ในอนาคต “ด้วยการพัฒนาวัสดุเหล่านี้ เรากำลังมอบก๊าซเรือนกระจกหรือ CO2 เพื่อการใช้งานรูปแบบใหม่กับการนำไปใช้งานที่หลากหลาย” ดร. Christoph Gürtler หัวหน้าฝ่าย Catalysis and Technology ของโคเวสโตรกล่าว
ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทางอุตสาหกรรมของโคเวสโตรอย่าง Puren GmbH, BYK-Chemie GmbH และ PSS Polymer Standard Service GmbH เราได้พิสูจน์ถึงความเป็นไปได้ ไม่เพียงแค่ตรวจสอบถึงการใช้งานที่หลากหลายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ใหม่ๆ สำหรับวัสดุที่ผลิตจาก CO2 อีกด้วยด้วย และด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย RWTH Aachen และมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน ศักยภาพทางนิเวศวิทยาและด้านเศรษฐกิจจากการขยายตัวของเทคโนโลยี CO2 นี้ ก็ได้รับการตรวจสอบพร้อมกับลักษณะเชิงลึกของนวัตกรรมด้านวัสดุใหม่ตัวนี้เช่นกัน “ผลลัพธ์ของโครงการ DreamResource แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงโอกาสอันหลากหลายที่เกิดขึ้นจากการใช้ CO2 เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับโพลีออลเพื่อผลิตโพลียูรีเทนหลากหลายประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อนวัตกรรมชิ้นนี้” Dennis Krämer ผู้จัดการโครงการวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติสำหรับการใช้ CO2 ที่ DECHEMA e.V. กล่าว
ฉนวนกันความร้อนอเนกประสงค์ที่ยั่งยืน
“การขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ สร้างประโยชน์อย่างมหาศาล” Gürtler กล่าวต่อ ตัวอย่างเช่นการผสมผสานระหว่างเอทิลีนออกไซด์และ CO2 เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิว (surface-active substances) ได้ผ่านแนวทางใหม่นี้ นอกเหนือจากโฟมโพลียูรีเทนชนิดแข็งจาก CO2 ซึ่งสามารถใช้ในแผ่นฉนวนสำหรับอาคาร
บริษัท Puren GmbH เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเทคโนโลยีโพลียูรีเทนโฟมชนิดแข็งและได้รับการตรวจสอบเรื่องการใช้โพลีออลจาก CO2 สำหรับโฟมชนิดแข็งในโครงการวิจัยนี้
“หลังจากการความร่วมมือในการทำโครงการวิจัยร่วมกันนานกว่า 3 ปี โพลีออลที่สร้างจาก CO2 กว่า 400 กิโลกรัมได้ถูกส่งไปยัง Puren GmbH เพื่อการแปรรูปต่อไป “แผ่นฉนวนโฟมชนิดแข็งต้นแบบเหล่านี้ที่ทำด้วยโฟมชนิดแข็งจากโพลีออลที่ใช้ CO2 เป็นไปตามมาตรฐานและเทียบเคียงได้กับมาตรฐานของตลาดในแง่ของข้อกำหนดทางเทคนิคที่สำคัญ โดยความร่วมมือเพิ่มเติมนั้น เราวางแผนที่จะผลิตต้นแบบเพิ่มเติมและพยายามปรับปรุงคุณสมบัติ โดยมุ่งหวังให้เข้าใกล้การใช้ CO2 มาเป็นวัตถุดิบทางเลือกในแผ่นฉนวนโฟมชนิดแข็ง และสร้างความมั่นใจในการพัฒนาขั้นสุดท้ายอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับตลาด” ดร. Andreas Huther กรรมการผู้จัดการบริษัท Puren GmbH กล่าว “ด้วยความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 จึงถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกสำหรับโฟมชนิดแข็งได้ สิ่งนี้จะทำให้ฉนวนกันความร้อนมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นและจะช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากฟอสซิลอีกด้วย”